เมนู

วรรคที่ 2


บทว่า อุชฺชคฺฆิกาย คือ หัวเราะลั่นอยู่. ในบทว่า อุชฺชคฺฆิกาย
นี้ เป็นตติยาวิภัตติ โดยนัยดังได้กล่าวแล้วเหมือนกัน.
ในคำว่า อปฺปสทฺโท อนฺตรฆเร นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- จัดว่า
เป็นผู้มีเสียงน้อยโดยประมาณขนาดไหน ? บรรดาพระเถระทั้งหลายผู้นั่งใน
เรือนขนาด 12 ศอกอย่างนี้ คือ พระสังฆเถระนั่งข้างต้น พระเถระรูปที่ 2
นั่งท่ามกลาง พระเถระรูปที่ 3 นั่งข้างท้าย, พระสังฆเถระปรึกษากับพระเถระ
ที่ 2. พระเถระรูปที่ 2 ฟังเสียงและกำหนดถ้อยคำของพระสังฆเถระนั้นได้.
ส่วนพระเถระรูปที่ 3 ได้ยินเสียงกำหนดถ้อยคำไม่ได้. ด้วยขนาดเพียงเท่านี้จัด
เป็นผู้มีเสียงน้อย. แต่ถ้าว่าพระเถระรูปที่ 3 กำหนดถ้อยคำได้ ชื่อว่า เป็นผู้
มีเสียงดังแล.
สองบทว่า กายํ ปคฺคเหตฺวา มีความว่า ภิกษุพึงเดินและพึงนั่ง
ไม่โยกโคลง คือ ด้วยกายตรง ด้วยอิริยาบถเรียบร้อย.
สองบทว่า พาหุํ ปคฺคเหตฺวา คือ ทำแขนให้นิ่ง ๆ.
สองบทว่า สีลํ ปคฺคเหตฺวา คือ ตั้งศีรษะไม่เอียงไปเอียงมา ได้แก่
ให้ตรง (ไม่นั่งคอพับ).
วรรคที่ 2 จบ